- ศพหลวงพ่อแดง วัดคุณาราม มรณภาพมาแล้ว 35 ปี ร่างกายเป็นหิน ศพอยู่ในลักษณะนั่ง เป็นที่สนใจของคนไทยและชาวต่างประเทศมาก
- ศพพระครูวิมลทีปคุต (เริ่ม สมคะเน) วัดคีรีวงการาม ตำบลตลิ่งงาม มรณภาพมาแล้วประมาณ 36 ปี สภาพศพไม่เน่าเปื่อยเช่นกัน ศพอยู่ในลักษณะนั่ง แต่คนทั่วไปไม่ค่อยรู้ เพราะอยู่ไกลถนนใหญ่
- ศพหลวงพ่อพระครูสุวัฒน์ธรรมคุณ (วัฒน์ คงเพชร) วัดศรีทวีป ตำบลอ่างทอง ท่านมรณภาพมาแล้ว ประมาณ 19 ปี สภาพศพไม่เน่าไม่เปื่อยเช่นกัน สภาพศพอยู่ในลักษณะนอนในโลงแก้ว
- ยังมีสิ่งมหัศจรรย์ ซึ่งเป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่ง คือ เกาะแตน (เกาะกะแต็น) อยู่ทางใต้ของเกาะสมุยเป็นหมู่บ้านหนึ่งของตำบลตลิ่งงาม เกาะแห่งนี้จะนำสุนัขไปเลี้ยงไม่ได้ ถ้าใครนำสุนัขขึ้นบนเกาะ สุนัขตัวนั้นจะวิ่งและส่งเสียงร้องคล้ายสุนัขบ้า และจะเสียชีวิตไปในที่สุด นักวิทยาศาสตร์เคยพิสูจน์ว่าเกิดมาจากอะไรก็ยังไม่มีข้อสรุป
ค้นหาห้องพักทั่วไทยค่ะ ^^
Day Trip Koh Samui
Picture | Day Trips | Price |
Sea Safari Tour + Kayaking + Elephant or ATV by Speed boat ( Full Day ) | 44 USD | |
Half Day Samui City Tour ( Mininum 2 persons ) | 44 USD | |
Eco Adventure (Fullday) | 42 USD | |
9 in 1 Eco Safari Tour (Halfday) | 28 USD | |
7 in 1 Eco Safari Tour (4 Hours) | 25 USD | |
3 in 1 Eco Safari Tour (2 Hours) | 22 USD | |
ATV Adventure (20 Mins) | 15 USD |
วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
สิ่งที่มหัศจรรย์ของเกาะสมุย
เขียนโดย
OuyOuy
ที่
9:27 หลังเที่ยง
ป้ายกำกับ:
เกาะแตน,
สิ่งที่มหัศจรรย์ของเกาะสมุย,
หลวงพ่อแดง
0
ความคิดเห็น
ปัจจุบันชาวไทยและชาวต่างประเทศมีความพิศวงในสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ คือ ศพที่เสียชีวิตมาแล้วไม่น้อยกว่า 20 ปี และไม่เน่า ไม่เปื่อย คือ
วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
ประเพณีกินข้าวห่อของชาวสมุย
การประกอบอาชีพของชาวสมุยในสมัยโบราณ จะเป็นการทำนา ทำสวน ทำไร่ ซึ่งอยู่ไกลบ้านพักจะต้องนำอาหารไปรับประทานในตอนกลางวัน หรือแม้แต่การเดินทางไปทำธุระ หรือเยี่ยมญาติจากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่ง ซึ่งมีระยะทางไกลมาก ต้องข้ามเขา ข้ามห้วย หรือแม้แต่การเดินทางในทะเล โดยอาศัยเรือพาย เรือแจว หรือเรือใบจากอ่าวหนึ่งไปยังอีกอ่าวหนึ่ง ก็มีความจำเป็นที่จะต้องจัดอาหารไว้รับประทานระหว่างการเดินทาง เพราะสมัยก่อนถนนหนทางยังไม่มีอย่างปัจจุบัน ร้านอาหารก็ไม่มีอาหารที่จัดไว้เพื่อรับประทานในตอนกลางวัน เพื่อประกอบอาชีพ หรือเดินทางไกล เรียกว่า ข้าวห่อ ลักษณะของข้าวห่อ คือ นำข้าวสุกใส่ในใบตอง(ใบกล้วย) พร้อมด้วยกับข้าว ส่วนมากจะเป็นน้ำพริกแห้ง น้ำพริกมะขามสด ปลาเค็มทอดหรือปิ้ง บางครั้งก็มีอาหารแห้งอย่างอื่น เช่น ไข่เค็มต้ม ไข่เจียว ฯลฯ ชนิดแห้ง แล้วหากาบหมาก (ตอกหมาก) มารองอีกชั้นหนึ่ง เสร็จแล้วห่อเป็นรูปสี่เหลี่ยมกระทัดรัดนำติดตัวไป สถานที่กินข้าวห่อจะต้องเป็นสถานที่มีน้ำจืด มีบ่อน้ำ หรือลำธาร สรุปได้ว่าการกินข้าวห่อ คือการนำอาหารไปรับประทานนอกบ้าน
ต่อมาลักษณะของข้าวห่อได้รับการพัฒนาขึ้น คือ เมื่อชาวบ้านรู้จักนำใบเตย ใบตาล หรือใบมะพร้าว มาสานเป็นกระชุ(กระสอบ) มาเป็นภาชนะบรรจุข้าวห่อลักษณะของข้าวห่อก็เปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่จะสังเกตุเห็นว่าจะเป็นข้าวห่อด้วยกาบหมาก หรือกระชุ ก็จะมีใบตองมารองรับอาหารก่อน ทั้งนี้เป็นเพราะใบตองจะทำให้ข้าวสุกและกับข้าวมีรสหอม และเมื่อรับประทานเสร็จใบตองที่รองรับอาหารก็ทิ้งได้เลย ส่วนกระชุก็สามารถนำกลับไปใช้ในคราวต่อไปได้ การกินอาหารในสมัยก่อนนิยมใช้มือเปิปข้าวและกับข้าว นี่คือลักษณะของข้าวห่อและวิธีกินข้าวห่อของชาวสมุยในสมับโบราณ
ครั้นนานๆเข้าการกินข้าวห่อเริ่มเปลี่ยนแปลงมากขึ้น คือ จากการกินข้าวแค่เพียงคนเดียวหรือสองคนซึ่งเป็นบุคคลในครัวเรือน ก็จะขยายเป็นการกินข้าวห่อเป็นคณะเล็กๆ ภายในเครือญาติหรือแขกเหงื่อที่มาเยี่ยมเยียน ภาชนะที่บรรจุอาหารก็จะเป็นปิ่นโต อาหารที่จะเป็นอาหารแห้งก็จะเป็นอาหารคาวหวานชนิดต่างๆ ทั้งที่แห้งและมีน้ำ แถมยังมีอาหารหวาน ผลไม้ รวมไปด้วย สถานที่กินข้าวห่อก็มักนิยมกันที่ชายหาดริมทะเล หรือสถานที่ร่มรื่นริมแหล่งน้ำลำธาร โดยใช้เสื่อปูรองรับประทานอาหาร และผู้ร่วมรับประทาน
การกินข้าวห่อของชาวสมุยเริ่มจะมีชื่อเสียงโด่งดังมากขึ้น เมื่อมีการตัดทางสายรอบเกาะผ่านภูเขาจากบ้านละไมสู่บ้านเฉวง เมื่อปี พ.ศ.2511 สมัยนายดิลก สุทธิกลม เป็นนายอำเภอ ระยะทาง 3 กม. ใช้เวลาทำงาน 4 เดือนเต็มๆ โดยอาศัยแรงงานชาวบ้านละไม - เฉวง ตลอดเวลาปฏิบัติงานจะมีการเลี้ยงอาหารข้าวห่อแก่แรงงานชาวบ้านทุกๆวันเป็นประจำ
เมื่อถนนสายนี้พอที่ยานพาหนะสัญจรไปมาได้ทางฝ่ายบ้านเมืองก็เริ่มให้ความสนใจเกาะสมุยมากขึ้น และถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาสมุยทั้งในด้านคมนาคม การท่องเที่ยว
จึงพูดได้ว่าประเพณีกินข้าวห่อของชาวสมุย ก็สามารถสร้างสมุยให้เจริญได้เหมือนกัน จึงอยากขอร้องพี่น้องชาวสมุยว่า ขอให้ช่วยกันรักษาประเพณีกินข้าวห่อ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามและดียิ่งเอาไว้ให้คู่กับสมุยสืบไป...
วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
วัฒนธรรมเกี่ยวกับโบราณสถาน:ที่อยู่อาศัย
เขียนโดย
OuyOuy
ที่
9:24 หลังเที่ยง
ป้ายกำกับ:
วัฒนธรรมเกาะสมุย,
วัฒนธรรมเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
0
ความคิดเห็น
วัฒนธรรมเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยของชาวเกาะสมุย
ปัจจุบันการปลูกสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยนิยมสร้างแบบตะวันตกแบบแปลนวัสดุก่อสร้างราคาแพงมาก แต่ก็ยังมีบ้านที่ปลูกสร้างในสมัยก่อน ซึ่งมีอายุ 90 ปีขึ้นไปอยู่มากหลัง เหมาะแก่ผู้ที่สนใจในวัฒนธรรมที่อยู่อาศัยจะได้เยี่ยมชมเพื่อการศึกษาอยู่มากแห่ง เช่น
ปัจจุบันการปลูกสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยนิยมสร้างแบบตะวันตกแบบแปลนวัสดุก่อสร้างราคาแพงมาก แต่ก็ยังมีบ้านที่ปลูกสร้างในสมัยก่อน ซึ่งมีอายุ 90 ปีขึ้นไปอยู่มากหลัง เหมาะแก่ผู้ที่สนใจในวัฒนธรรมที่อยู่อาศัยจะได้เยี่ยมชมเพื่อการศึกษาอยู่มากแห่ง เช่น
- บ้าน 150 ปี ของนายซี่ ฮั่นเจริญ อยู่บ้านทะเล หมู่ที่ 3 ตำบลหน้าเมือง
- บ้านอายุประมาณ 100 ปี ของท่านหมื่นวิจารณ์ (เที่ยง พูลสวัสดิ์) อดีตผู้ใหญ่บ้านพังกา อยู่ที่หมู่ที่ 4 ตำบลตลิ่งงาม ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของจิบ พูลสวัสดิ์ ลูกสะใภ้
- บ้านอายุประมาณ 100 ปี ของขุนมะเร็ต (นายหมึก ไชยธวัช) อดีตกำนันตำบลมะเร็ต ต่อมาเป็นกรรมสิทธิ์ของพี่ชาย หลานชาย ซึ่งเป็นกำนัน เป็นผู้ใหญ่บ้าน ปัจจุบันนายทรงพล ศรีฟ้า ชั้นเหลน เป็นผู้ดูแล อยู่ติดถนนใหญ่ หมู่ที่ 1 ตำบลมะเร็ต
- เฉพาะบ้านโบราณ อายุระหว่าง 80-100 ปีจะมีอยู่เป็นจำนวนมาก และมีอยู่ทั่วๆไปของเกาะสมุย
วันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
แหล่งท่องเที่ยวด้านโบราณสถาน 2
เขียนโดย
OuyOuy
ที่
10:44 หลังเที่ยง
ป้ายกำกับ:
เจดีย์แหลมสอ,
เจดีย์แหลมสอองค์ใหม่,
แหล่งท่องเที่ยวด้านโบราณสถาน
0
ความคิดเห็น
เจดีย์แหลมสอ
องค์เก่าตั้งอยู่บนเขาสูงของแหลมสอ อยู่ใกล้ๆกับที่พำนักสงฆ์แหลมสอประมาณ 1 กิโลเมตร เจดีย์แห่งนี้สร้างตามแบบศรีลังกา โดยพระครูวิบูลยธรรมสาร (หลวงพ่อเพชรวาจาสิทธิ์ เจ้าคณะแขวงรูปแรกของสมุย และเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อแดง) ประมาณ 134 ปีมาแล้ว ท่านได้เดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ณ ประเทศอินเดีย ตอนกลับได้ไปดูการศาสนาที่ประเทศศรีลังกา ซึ่งสมัยนั้นพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก เมื่อกลับมาก็ได้สร้างพระเจดีย์องค์นี้ขึ้นตามแบบของศรีลังกา ปัจจุบันชำรุดหักพัง ทางสภาวัฒธรรมอำเภอเกาะสมุยได้ติดต่อ ประสานไปยังผู้อำนวยการกองแผนงานกรมศิลปากร ได้ประสานไปยังสำนักงบประมาณ เพื่อขอเงินมาบูรณะซ่อมแซมต่อไป ที่ตั้งของเจดีย์องค์นี้ เมื่อขึ้นไปยังองค์เจดีย์ ทางด้านใต้จะมองเห็นเกาะแตน เกาะราบ และแผ่นดินใหญ่ ทิศเหนือจะมองเห็นหมู่เกาะอ่างทอง เกาะพลวย ทิศตะวันตกจะมองเห็นอ่าวไทย แหลมพลายดำของอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
เจดีย์แหลมสอองค์ใหม่
หรือเรียกว่า เจดีย์ติสโส นฤมิตร ตั้งอยู่ริมทะเลด้านทิศใต้ของเกาะ ณ ที่พำนักสงฆ์พุทธเจดีย์ หลวงพ่อแดง (แดงเฒ่า) เป็นผู้สร้าง ตามแบบศรีวิชัยไชยา และที่พำนักสงฆ์แห่งนี้ยังมีเรือลำใหญ๋สร้างบนเนินเขา เทพคุณ โครงสร้างด้วบปูนซีเมนต์ บรรจุน้ำได้ประมาณเจ็ดแสนลิตร สร้างโดย พระครูถิรบุญญากร (ท่านสถิตย์) ให้ชื่อว่า ติสโสนาวานุสาวรีย์ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พ่อหลวงแดง เพราะท่านชอบเรือมาก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
My Fackbook
4NewMom Cafe on Facebook